วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

แก้ ค่า I


ฉนวนกันความร้อน

 แบบที่ 1. STAY COOL 
ฉนวนกันความร้อน Stay Cool ฉนวนตราช้างรุ่น STAY COOL เป็นฉนวนใยแก้วแบบม้วนที่มีความหนาพิเศษ 3 นิ้ว และ 6 นิ้ว หุ้มรอบด้านด้วยแผ่นฟิล์มสะท้อนแสง (Metalized Film) (รุ่น 3") หุ้มรอบด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์เสริมแรง 3 ทาง ทนต่อการฉีกขาด (รุ่น 3" Extra และ รุ่น 6")
ออกแบบมาเพื่อบ้านพักอาศัย ที่ต้องการเป็นบ้านประหยัดพลังงาน หรือต้องการกันความร้อนเป็นพิเศษ ทั้งบ้านสร้างใหม่และบ้านที่อยู่อาศัย แล้วสามารถปูเหนือฝ้าเพดานได้ทุกชนิด อาทิเช่น ฝ้าเพดานแบบ T-Bar, ฝ้าเพดานแบบฉาบเรียบด้วยขนาดกระทัดรัด กว้าง 60 ซม. ยาว 4 ม. จึงสามารถติดตั้งได้ง่าย และมีประสิทธิภาพเยี่ยม ด้วยค่าการกันความร้อนสูง (R-Value)


 แบบที่ 2. โฟมอะลูมิเนียม
โลหะที่นำมาผลิตเป็นโฟมโลหะมีหลายชนิดด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้มากคือ โฟมอะลูมิเนียม ปัจจุบันวัสดุชนิดนี้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในบางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง อุตสาหกรรมก่อสร้างและที่อยู่อาศัย โดยใช้ในโครงสร้างที่ต้องรับแรงกระแทก เป็นวัสดุดูดซับเสียง และฉนวนกันความร้อน


แบบที่ 3. CELLULOSE
ใช้สำหรับอาคารที่ยังไม่สามารถเข้าไปฉีดพ่นได้  โดยนำไปปูบนฝ้าที่บาร์ หรือ ฉาบเรียบน้ำหนักเบากันความร้อนสูง และ ยัง เก็บเสียงได้อีกด้วย









การเข้าไม้ 4   ชนิดทำได้อยากไร
-           การเพลาะไม้
-           หางเหี่ยว
-           เข้าเดือย
-           เข้าลิ้น      
การเพลาะไม้ 
การเพลาะไม้ คือ การนำแผ่นไม้มาเรียงแล้วอัดเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มความกว้าง ของขนาดไม้ให้ได้ตามต้องการเพราะไม้ขนาดใหญ่ๆ นั้น ในปัจจุบัน ใช้งบประมาณสูง








การเข้าบากหากเหยี่ยว
การเข้าไม้ลักษณะสามารถรับแรงดึงได้สูง  หน้าตาจะคล้ายกับการเข้าไม้ปากกบแต่ต่างที่ไม้ที่บากจะเป็นรูปหางเหยี่ยว ยึดด้วยตะปู
                            
                                        






 
 การเข้าเดือย
การเข้าเดือยนั้นมีหลายแบบหลายขนิด เพื่อจะช่วยทำไห้การเข้าไม้นั้นมีความแข็งแรงคงทนมากขึ้นอธิเช่น เข้าเดือยแบบ กลม  เข้าเดือยแบบ เหลี่ยม และอื่นๆอีกมากมาย














การเข้าลิ้น 
คือการนำไม้มาต่อกัน  โดยที่  ข้างนึงมีเดือย และอีกข้างเป็นลิ้น  แล้วเมื่อนำเดือยไปต่อกับลิ้น
ก็จะเรียกมาการเข้าลิ้น ส่วนใหญ่ใช้ในงานไม้ เช่น พื้น ปาเก้ เป็นต้น







หลังคา  Shingle Roof 
มีลักษณะหลังคาแบบนี้   แผ่นที่ทำจากยางมะตอย  หรือวัสดุอื่นๆอีกมากมาย  แต่การคำหลังคาแบบนี้คือ
การนำวัสดุทำเป็นแผ่นๆวางแปะทับซ้อนกันนั้นเอง
ส่วนวัสดุที่นำมาใช้เป็นกระเบื้องนั้น มี มากมายส่วนมาก จะใช้  เสดไม้  หรือ เป็นแผ่นยาง
เสดไม้











แผ่นยาง














รูปตัดโครงสร้างพื้นไม้ที่แสดง ตง , คาน , พื้น
เป็นระบบแผ่นพื้นทางเดียวโดยใช้แผ่นพื้น(ความยาวตามแนวลูกศร) วางบนตง
และคานรอง ก่อนจะวางลงบนคานหลักและเสา หรือวางบนผนังรับน้้าหนัก












จมูกบันใด
คือ ตรงปลายสุดของขั้นบันใด ตามรูปเลยครับ 










































ลูกฟักประตู  
คือประตูแกะสลักบานไห้เป็นรวดรายนั้นเอง  มี หลากหลายรูปแบบ
อยู่บริเวณบานประตูตามภาพ





















วิธีการบ่มคอนกรีต
วิธี การบ่มคอนกรีตจะขึ้นอยู่กับสภาพของงานคอนกรีตนั้นๆ เป็นหลัก ลักษณะของการบ่มคอนกรีตสามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ
คือการเพิ่มความชื้นให้คอนกรีต การป้องกันการเสียน้ำของคอนกรีต และการเร่งกำลัง
1. การบ่มโดยการเพิ่มความชื้นให้คอนกรีต การ บ่มลักษณะนี้จะเพิ่มความชื้นให้กับผิวคอนกรีตโดยตรง เพื่อทดแทนการระเหยของน้ำออกจากคอนกรีต
การบ่มลักษณะนี้สามารทำได้หลายวิธี ดังต่อไปนี้
1.1 การขังหรือหล่อน้ำ เป็น การทำนบกั้นน้ำไม้ให้น้ำไหลออกมักจะใช้กับงานทางระดับ เช่น พื้น หรือถนน เป็นต้น วัสดุที่ใช้ทำทำนบอาจจะเป็นดินเหนียว
หรืออิฐก็ได้ ข้อควรระวังสำหรับวิธีนี้ คือ ต้องระวังอย่าให้ทำนบกั้นน้ำพัง และหลังจากบ่มเสร็จแล้ว อาจจะต้องทำความสะอาดผิวหน้าคอนกรีต
1.2 การฉีดน้ำหรือรดน้ำ เป็น การฉีดน้ำให้ผิวคอนกรีตเปียกอยู่เสมอวิธีนี้ใช้ได้กับงานคอนกรีต ทั้งในแนวดิ่ง แนวระดับ หรือแนวเอียง ข้อควรระวัง
คือต้องฉีดน้ำให้ทั่วถึงทุกส่วนของคอนกรีต และแรงดันน้ำต้องไม่แรงเกินไปจนชะเอาผิวหน้าคอนกรีตที่ยังไม่แข็งตีวดีออก วิธีนี้ต้องสิ้นเปลืองน้ำมาก
และต้องอาศัยที่ที่มีแรงดันน้ำมากพอ
1.3 การคลุมด้วยวัสดุเปียกชื้น เป็น วิธีที่ใช้กันมาก เพราะสะดวก ประหยัด และสามารถใช้ได้กับงานทั้งแนวระดับ แนวดิ่ง และแนวเอียง
วัสดุที่ใช้คลุมอาจจะใช้ ผ้าใบ กระสอบ หรือวัสดุอื่นที่อมน้ำ ข้อควรระวัง คือวัสดุที่คลุมต้องเปียกชุ่มอยู่เสมอ การคลุมต้องคลุมให้วัสดุหลุมเหลื่อมกัน
วัสดุที่ใช้คลุมต้องปราศจากสารที่เป็นอันตรายต่อคอนกรีต หรือทำให้คอนกรีตด่าง สำหรับการคลุมงานคอนกรีตในแนวดิ่ง ต้องยึดวัสดุคลุมให้แน่นหนา
ไม่เลื่อนหล่นลงมาได้ โดยเฉพาะเวลาที่ราดน้ำ ซึ่งจะต้องทำเป็นประจำ

2. การบ่มโดยการป้องกันการเสียน้ำจากเนื้อคอนกรีต วิธี การนี้ใช้การผนึกผิวของคอนกรีต
เพื่อป้องกันมิให้ความชื้นจากคอนกรีตระเหยออกจากเนื้อคอนกรีต การบ่มลักษณะนี้สามารถกระทำได้หลายวิธีดังนี้
2.1 การบ่มในแบบหล่อ แบบ หล่อไม้ที่เปียก และแบบหล่อเหล็ก สามารถป้องกันการสูญเสียความชื้นได้ดี วิธีนี้จัดได้ว่าง่ายที่สุด
เพียงแค่ทิ้งแบบหล่อให้อยู่กับคอนกรีตที่หล่อไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ และคอยดูแลให้ผิวด้านบนคอนกรีตมีน้ำอยู่
โดยน้ำนั้นสามารถไหลซึมลงมาระหว่างแบบหล่อกับคอนกรีตได้
2.2 การใช้กระดาษกันน้ำซึม เป็น การใช้กระดาษกันน้ำซึม ปิดทับผิวคอนกรีตให้สนิท เป็นเวลาอย่างน้อย 3 วัน วิธีนี้มักนิยมใช้กับงานคอนกรีตแนวระดับ
กระดาษกันน้ำซึมนี้ เป็นกระดาษเหนียวสองชั้นยึดติดกันด้วยยางมะตอย และเสริมความเหนียวด้วยใยแก้ว
มีคุณสมบัติในการยึดหดตัวไม่มากนักเวลาที่เปียกและแห้ง ข้อควรระวังในการใช้กระดาษ คือ บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นจะต้องผนึกให้แน่นด้วยกาว
หรือเทป และกระดาษต้องไม่มีร่อยรอยฉีกขาด หรือชำรุด
2.3 การใช้แผ่นผ้าพลาสติกคลุม วิธี การนี้จะเหมือนกับการใช้กระดาษกันน้ำ แต่แผ่นผ้าพลาสติกจะเบากว่ามาก จึงสะดวกในการใช้มากกว่า
สามารถใช้กับงานโครงสร้างทุกชนิด ข้อควรระวังก็เช่นเดียวกับกระดาษกันน้ำ คือ รอยต่อและการชำรุดฉีกขาด และเนื่องจากมีน้ำหนักเบา
จึงต้องระวังเรื่องการผูกยึด ป้องกันลมพัดปลิวด้วย
2.4 การใช้สารเคมีเคลือบผิวคอนกรีต เป็น การพ่นสารเคมีลงบนผิวคอนกรีตซึ่งสารเคมีที่พ่นนี้จะกลายเป็นเยื่อบางๆ
คลุมผิวคอนกรีตป้องกันการระเหยออกของน้ำในคอนกรีตได้ การบ่มวิธีนี้ทั้งสะดวกและรวดเร็วแต่ค่าใช้จ่ายจะสูง จึงมักใช้กับงานที่บ่มด้วยวิธีอื่นได้ลำบาก
การพ่นสารเคมีนี้ต้องกระทำในขณะที่ผิวคอนกรีตยังชื้นอยู่ และต้องพ่นให้ทั่วถึง ข้อที่ควรทราบ
คือสารเคมีประเภทนี้จะทำให้การยึดเหนี่ยวระหว่างคอนกรีตเดิมกับคอนกรีตที่จะ เทใหม่เสียไป จึงไม่ควรใช้กับงานคอนกรีตที่ต้องต่อเติม

หรือฉาบปูนในภายหลัง และหากใช้สารเคมีฉีดพ่นแล้ว ไม่ควรฉีดน้ำซ้ำ เพราะน้ำจะไปชะล้างสารเคมีออก ควรชี้แจงให้คนที่ทำงานทราบถึงประเด็นนี้
เพื่อจะได้ไม่ฉีดชะล้างสารเคมีออกโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
3. การบ่มด้วยการเร่งกำลัง เป็น การบ่มคอนกรีตด้วยไอน้ำ โดยให้ความชื้น และความร้อน กับคอนกรีตที่หล่อเสร็จใหม่ๆ
วิธีนี้จะทำให้คอนกรีตมีกำลังสูงขึ้นโดยรวดเร็วช่วยลดการหดตัว และเพิ่มความต้านทานต่อสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อคอนกรีต
การบ่มคอนกรีตด้วยวิธีนี้สามารถทำได้สองวิธี คือการบ่มด้วยไอน้ำที่มีความดันต่ำ และการบ่มด้วยไอน้ำที่มีความดันสูง การบ่มด้วยการเร่งกำลัง
นิยมใช้กันในงานอุตสาหกรรมคอนกรีตสำเร็จรูป